24 ตุลาคม 2552

การดูพระหลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ ตอนที่ 30 : พระยุคกลางวัดไผ่พันมือ

สวัสดีครับ มิตรรักแฟนเพลงทุกๆท่าน ช่วงนี้ห่างหายไปเกือบสัปดาห์ ตามภาระกิจอีกเช่นเคย ก็กลับมาพบกับเรื่องราวของ หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ กันต่อนะครับ วันนี้ผมจะพาไปชมพระในยุควัดไผ่พันมือ ซึ่งคงจะอยู่ในช่วงกลางๆวัดไผ่ ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นลักษณะเนื้อพระที่คุ้นเคยกันมากที่สุด จะเรียกเนื้อมาตรฐานก็กระไรอยู่ เพราะเนื้อพระหลวงพ่อสงวน ท่านเป็นงานแฮนด์เมด จะให้เหมือนกันเป๊ะๆ เป็นไปได้ยากมาก แต่เนื้อแบบนี้นั้น จะเป็นเนื้อที่ดูได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูพระองค์แรก ซึ่งพิมพ์นี้ ก็เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่เจอกันได้บ่อยๆ

พระสมเด็จสามชั้น หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ ยุคกลาง

Khunpannoi


คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับพระพิมพ์นี้กันพอสมควรนะครับ ซึ่งถ้าท่านอ่านบทความมาตั้งแต่ต้น ผมเคยลงพระองค์นี้ไปครั้งหนึ่งในบทความตอนแรกๆ ด้านหลังขององค์พระนั้น ปั้มตายางชื่อ หลวงพ่อสงวน และ วัดไผ่พันมือ มาด้วย

Photobucket


ลองขยายดูเนื้อกัน สังเกตุลักษณะของหมึกตาปั้มนะครับ ต้องเก่าตามอายุ หากเห็นสีหมึกยังสดๆนี่ ให้ห่างๆไว้เลยครับ สังเกตุมวลสารกันนะครับ ซึ่งจะว่าไปแล้ว พระองค์นี้ ยังคงสังเกตุว่า เนื้อหายังได้รับอิทธิพลจากพระเนื้อแก่ปูนขาว เพียงแต่ปริมาณลดน้อยลงไป

Khunpannoi

เนื้อแบบนี้ น่าจะคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงยุคต้นและยุคกลางวัดไผ่พันมือครับ ลองเปรียบเทียบกับอีกสามองค์นะซึ่งพบว่าจะยังคงเป็นพระเนื้อลักษณะแก่ปูนขาวมากกว่านะครับ

Khunpannoi

ด้านหลัง ปั้มหมึกคนละสี แต่อีกสามองค์ที่เป็นหมึกสีแดงนั้น จะดูเก่ากว่ามาก ซึ่งก็เป็นหลักฐานอีกอันหนึ่งที่พอจะบ่งบอกได้ว่า พระเนื้อแบบไหนสร้างก่อนแบบไหนสร้างทีหลัง

Khunpannoi

พระสมเด็จสามชั้นหูบายศรี ทาทอง หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ

Khunpannoi


อีกองค์หนึ่งของพระยุคกลางวัดไผ่พันมือครับ องค์นี้ลองสังเกตุเลี่ยมกันดูนะครับ เลี่ยมพระแบบนี้ จะเป็นพระที่หลวงพ่อสงวน ท่านเลี่ยมมาให้เดิมๆจากวัดครับ ใช้เป็นจุดสังเกตุพระและลูกอมแท้ได้อย่างหนึ่ง แต่อย่าไปยึดมากกว่า เนื้อพระแล้วกันนะครับ ด้านหลัง เนื้อแบบนี้ เป็นเนื้อที่ดูง่ายสบายตาครับ อีกจุดหนึ่งที่ควรสังเกตุ ก็คือ ลักษณะสีทองที่ทาองค์พระ จำกันไว้ให้แม่นๆแล้วกัน สีทองแบบนี้จะเป็นสีที่พบได้บ่อยที่สุดครับ

Khunpannoi

พระสมเด็จสามชั้น หูบายศรี ทาทอง หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ

Khunpannoi

องค์นี้ดูเผินๆ ก็คล้ายๆกับองค์แรก สีทองก็เบอร์เดียวกันครับ แต่พอพลิกดูด้านหลัง พบว่า เนื้อหาจะไปคนละแบบกันเลย องค์นี้ติดรูปหลวงพ่อสงวน มาแบบเดิมๆครับ

Khunpannoi

พระสมเด็จสามชั้น หูบายศรี หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ ขนาดพระคะแนนกลาง

Khunpannoi

สององค์นี้ถือเป็นเนื้อครู ของพระยุควัดไผพนมือได้ทั้งคู่ครับ ซึ่งพระยุควัดไผ่พันมือ จำนวนไม่น้อยที่เนื้อลักษณะเดียวกันนี้

Khunpannoi

ขยายกันดู จำกันให้แม่นๆนะครับ ผมย้ำเสมอนะครับว่า การดูพระหลวงพ่อสงวน ให้ดูที่เนื้อพระเป็นลำดับแรก อย่าไปดูที่รูปถ่ายที่ติดไว้หลังพระเป็นลำดับแรกนะครับ ไม่งั้นท่านอาจจะโดนได้

Khunpannoi

พระสมเด็จสามชั้นหูบายศรี หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ หลากพิมพ์

Khunpannoi

เป็นที่ทราบกันดีครับว่า หลวงพ่อสงวน ท่านชอบสร้างพระที่ลักษระเป็นหูบายศรี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดเกศไชโย ดังนั้น จึงพบพระหูบายศรีเป็นจำนวนมาก แต่ก็หลากหลายพิมพ์เช่นกัน

Photobucket

พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์วัดระฆัง หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ

Khunpannoi


ปิดท้าย กันด้วย พระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้นะครับ ดูเผินๆแล้วอาจจะแยกแยะได้ยากครับว่า นี่คือ พระยุคต้นวัดไผ่พันมือ หรือ พระยุคทุ่งแฝกกันแน่ ผมเคยบอกไปแล้วว่า บางครั้งพระในช่วงคาบเกี่ยวสองยุคนี้ บางครั้งก็แยกจากกันได้ยากมาก ลองสังเกตุเนื้อหาที่พระอุระ และ พระพักตร์ขององค์พระนะครับ จะทำให้ท่านจำลักษณะของพระหลวงพ่อสงวน ทั้งสองยุคได้ง่าย ลองดูด้านหลังกันครับ ลองทายกันเล่นๆครับว่านี่คือพระยุคไหนกันแน่ ไม่มีรางวัลหรอกครับ แต่เพื่อฝึกทักษะกัน

Photobucket

ไม่มีรูปถ่ายหลวงพ่อสงวนติดมาด้วยครับ ดังนั้นใครกะจะเดาจากรูปถ่ายก็เสียใจด้วย ดูเนื้อหากันครับ จำเนื้อหาองค์นี้กันไว้ให้แม่นๆครับ ถือเป็นเนื้อครูได้องค์หนึ่ง แล้วท่านจะดูพระหลวงพ่อสงวนเก่งขึ้น

Khunpannoi


เป็นยังไงกันบ้างครับ ถ้ายังงงๆกันอยู่ ผมจะเฉลยให้ฟังก็แล้วกันครับ บางท่านอาจจะคิดว่า พระองค์นี้เป็นพระยุคต้นวัดไผ่พันมือ แต่จริงๆ แล้วพระองค์นี้เป็น พระเนื้อเขียว วัดทุ่งแฝกครับ สังเกตุจากเนื้อที่แข็งเหมือนปูนซีเมนต์ และ มวลสารที่ค่อนข้างเข้มข้นกว่า การดูจากรูปถ่าย อาจทำให้สับสน เพราะดูเหมือนกันมาก ที่ผมให้ดูพระองค์นี้เพราะอะไร?? ก็เพื่อตอกย้ำให้ท่านเห็นความเกี่ยวพันระหว่าง เนื้อพระยุควัดไผ่พันมือ และ วัดทุ่งแฝก กันอีกครั้ง หากไปได้ยินมาว่า พระยุคทุ่งแฝก ไม่ใช่หลวงพ่อสงวนสร้างบ้างหล่ะ หาว่า หลวงตาปิ่นสร้างบ้างล่ะ ก็ดูจากข้อเท็จจริงแล้วกันนะครับ ข้อเท็จจริงมันบิดไม่ได้เหมือนคำพูดคนหรอก หากท่านได้อ่านบทความของผมมาตั้งแต่ต้น ที่ผมได้ไล่เลียงเรื่องพัฒนาการของเนื้อพระ จะไล่ย้อนขึ้นมา หรือ ย้อนลงไปก็ดี ท่านคงจะเป็นความสัมพันธ์ของลักษณะมวลสารนี้อยู่ พระยุควัดทุ่งแฝกนั้นคนในพื้นที่เขาก็รู้กันดีครับว่า เป็นพระที่หลวงพ่อสงวนท่านสร้าง ดังนั้น ได้ยินมาก็อย่าไปหวั่นไหวกันล่ะ ทั้งพยานหลักฐานและบุคคลยืนยันชัด จะเป็นอื่นไปไม่ได้หรอกครับ วันนี้ว่ากันซะยาว ไว้พบกันใหม่ตอนหน้าก็แล้วกันนะครับทุกๆท่าน สวัสดีครับ

7 ความคิดเห็น:

  1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ

    ตอบลบ
  2. สวัสดีครับพี่แผน เฝ้ารอมานาน ในที่สุดก้อได้อ่านตอนใหม่ซะที อิอิ

    ส่วนตัวผมชอบพระยุคทุ่งแฝกครับ

    แต่ก้อแอบสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมถึงมีเสียงไม่ยอมรับพระยุคนี้ ทั้งๆที่เนื้อหามวลสารจัดจ้านออกปานนั้น

    - -"

    ตอบลบ
  3. เรื่องของผลประโยชน์น่ะครับ อย่าไปใส่ใจเสียงนกเสียงกามาก เซียนบางคนเค้าเก็บแต่พระวัดไผ่ไว้เยอะ พอพระทุ่งแฝกมาแรง ก็เป็นธรรมดาครับ ที่เค้าจะหาทางสะกัดดาวรุ่ง ไม่งั้นคนก็ถามหาแต่พระทุ่งแฝก เค้าก็ขายไม่ค่อยได้ อีกอย่างคือ ราคากำไรพระวัดไผ่ ฟันกำไรได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าครับ เพราะราคาขายชาวบ้าน เค้าไม่ได้ขายตามตลาด เพราะเค้าไม่ได้เล่นเน็ต เค้ารู้แต่ว่า นี่คือ พระหลวงพ่อสงวน เค้าก็ขายราคาพระหลวงพ่อสงวน พระทุ่งแฝก ส่วนใหญ่ขายได้ราคาต่ำกว่าพระวัดไผ่ครับ เหตุผลเพราะเซียนใหญ่ เมื่อก่อนเค้าตีเก๊น่ะแหละ ตอนหลัง เห็นทราบว่า สั่งสายเก็บเกลี้ยงเหมือนกัน แต่ไม่ต้องห่วงหรอกครับ พระหลวงพ่อก็คือ พระหลวงพ่อท่านวันยังค่ำแหละ อย่าไปสนใจตามที่คนขายพระเค้าพยายามตั้งกฏเลยครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับพี่แผนที่ให้ความกระจ่าง

    ชัดเจนและคลายความสงสัยไปหมดเลยครับ

    ขอบารมีหลวงพ่อคุ้มครองครับผม นอกจากให้ความรู้แล้ว ยังกล้านำเสนอความจริง ดีใจที่มีคนอย่างพี่อยู่ในวงการครับผม

    ตอบลบ
  5. ขอหลวงพ่อคุ้มครองเช่นกันครับ แค่พี่เขียนบล๊อคนี้ ยังโดนเยอะเลยครับ กล่าวหาตลอดเลยว่า เขียนเพื่อเตรียมขายพระ ก็อย่างที่พี่บอกแหละว่า ไม่รู้ว่าพี่จะรอขายเพื่ออะไร จะขายก็ขายได้เลย ใครห้ามพี่ล่ะครับ รำคาญมากๆก็เลยปิดบล๊อคมันซะสิ้นเรื่องสิ้นราว ให้คนเค้าศรัทธาจริงๆอ่านดีกว่าครับ แต่ก่อนเซียนบางคนเค้าก็แอบมาอ่าน แล้วเอาข้อมูลไปทำตัวเนียนๆเพื่อขายพระ เห็นแล้วเศร้าใจครับ แต่ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ยังไงก็ไม่หมดกำลังใจ ยังมีเรื่องราวหลวงพ่อสงวนอีกมาก ที่พี่ต้องบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังเค้าได้ศึกษากัน ไม่งั้นก็โดนพวกนี้บิดเบือนไปหมด ต้องถามตัวเองครับว่า เล่นพระเพื่อหวังพุทธคุณหรือเก็งกำไร สำหรับพี่ไม่สนมาตรฐานของคนขายพระที่เค้าพยายามตั้งหรอกครับ อยากจะตั้งอะไรก็ตั้งไป ความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ พระหลวงพ่อทุกองค์ทุกยุคก็ล้วนมีคุณค่าในตัวเองทั้งนั้น ก็เพราะเรื่องแบบนี้แหละครับที่ทำให้พี่ตัดสินใจเขียนบล๊อคนี้ขึ้นมาเพื่อบันทึกเรื่องราวของพระท่านไว้ คนมาใหม่ หรือ คนรุ่นหลังจะได้มีข้อมูลไว้เพื่อศึกษาหรือประกอบการตัดสินใจกัน เอาไว้ติดตามอ่านกันแล้วกันนะครับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ทราบว่ามีพระหลวงพ่อล่อยให้บูชาบ้างไหมครับ

    ตอบลบ
  7. อยากได้แบบมวลสารเยอะๆส่องมันๆ

    ตอบลบ

เกี่ยวกับฉัน